แลกเปลี่ยนเรียนรู้

เพื่อให้เกิดการพัฒนาคณาจารย์ ให้ปฏิรูปการเรียนการสอนในรูปแบบ Active learning ที่ผสมผสานกับการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีต่างๆทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ซึ่งผู้สอนต้องสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทำหน้าที่เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจและเกิดประกายแห่งการเรียนรู้โดยผู้สอนจำเป็นต้องหากลยุทธ์ เทคนิค เครื่องมือ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ ที่สามารถดึงดูดใจให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างน่าสนใจ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเป็นการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และตอบสนองการประกันคุณภาพการจัดการศึกษา ตลอดจนนโยบายรัฐบาลที่กำหนดนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล โดยคณะกรรมการจัดการความรู้(KM) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนได้ประชุมเห็นชอบให้มหาวิทยาลัยจัดโครงการประจำปีการศึกษา 2562 ภายใต้โครงการ"การจัดการความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ผสมผสานกับ e-Learning ปีการศึกษา 2562" ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เวลา 9.30-12.00 น.

KM 2020

SAU-KM2020-Hybrid Active Learning

วันอังคารที่ 26 พค 2563 เวลา 09:30 – 12:00

เข้าร่วมสัมนา ออนไลน์ << คลิก

ชมถ่ายทอดสด สัมนา << คลิก

VDO Link << คลิก


กำหนดการ

9.00 - 9.30 ลงทะเบียน เข้าร่วมสัมนา ออนไลน์

9.30 - 9.40 รายงาน โดย ผู้อำนวยการ ศูนย์นวัตกรรม ฯ

9.40 - 9.50 เปิดงาน โดย ผู้อำนวยการ สำนักวิชาการ มออ.

9.50 - 10.10 แนะนำตัวผู้เข้าร่วมประชุม คณาจารย์สาขาวิชาต่างๆ

10.10 - 10.25 การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ผสมผสานกับ E-Learning

10.25 - 11.45 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ Hybrid Active Learning ระหว่างผู้สอน โดยคณาจารย์สาขาวิชาต่างๆ

11.45 - 12.00 สรุปผล และปิดโครงการ

รายนามคณาจารย์เข้าร่วมสัมนาโครงการฯ

  1. นายชินกฤต วงศ์รักษ์ สาขาวิชาการเงิน

  2. นางสาวสุมนา สุขพันธ์ สาขาวิชาการจัดการ

  3. นางสาวธนพร สวนอินทร์ สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์

  4. นางนาตยา อารยเขมกุล สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์

  5. นางฉลวย ทองสมบูรณ์ สาขาวิชาการบัญชี

  6. นายอานุภาพ ทองบ่อ สาขาวิชาการบัญชี

  7. นางณัฏฐิตาพร แก้วรุจี สาขาวิชาการบัญชี

  8. นางชฎาภรณ์ วนาประเสริฐศักดิ์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

  9. นางวชิราพร ฤทธิ์ฉ่ำ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

  10. นางศิริภัทร สิตไทย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

  11. นางสาวจิราภรณ์ ปรากฎ สาขาวิชาดิจิทัลมีเดีย

  12. นายสินชัย กิตติมงคลสุข สาขาวิชาดิจิทัลมีเดีย

  13. นางพงษ์ลดา ภัทรมานะวงศ์ สาขาวิชานิติศาสตร์

  14. นายณัฐวุฒิ ปฐมสิทธาภิรักษ์ สาขาวิชานิติศาสตร์

  15. นางบุษบง ปรีดาวงศากร สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ

  16. ผศ.ชไนพร สิงห์ตระหง่าน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

  17. นายชนินทร เฉลิมสุข สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

  18. นายสิทธิ์ สิตไทย สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

  19. นางสาวณัฏฐรมัณยา จันทราประภากุล สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย

  20. ผศ.จารุศักดิ์ จิระภาพันธ์ สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย

  21. ผศ.พรนิภา บริบูรณ์สุขศรี สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย

  22. ผศ.สมยศ เสาะหายิ่ง สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย

  23. ผศ.ณัฐ จันท์ครบ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

  24. ผศ.ดร. ณัฏฐ์ โอธนาทรัพย์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

  25. นายกำธร อนุรักษ์ชูวงษ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

  26. ผศ.วีระพงษ์ กาญจนวงศ์กุล สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

  27. น.อ.ผศ.ไชโย ธรรมรัตน์ ร.น. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

  28. ผศ.จิระศักดิ์ สินสุขอุดมชัย สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

  29. ผศ.จิรัฐิติ์ บรรจงศิริ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

  30. ผศ.วราธร แก้วแสง สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

  31. นางสาวสุภิญญา จินดามรกฎ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

  32. นายสุรวิทย์ ตุนชัยภูมิ สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

  33. ผศ.เสรี ชื่นอารมณ์ สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

  34. นางสาวมุสตาซะห์ ยูโซะ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

  35. นายมานิตย์ ธิมาทา สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

  36. นายอมรพงศ์ สงวนสินธุ์ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

  37. นางธิดา จินดามณี หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

  38. นายวีรพล จินดามณี หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

  39. ดร.ธัญนันท์ บุญอยู่ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

  40. ดร.ฉัตรพล มณีกูล หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

  41. ดร.ทิฆัมพร พันลึกเดช หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

  42. นายกฤษณะ จันทร์เรือง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

  43. ผศ.สมศักดิ์ สิริโปราณานนท์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

สรุปผลประเมินโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 62 (KM 2020)

KM 2020
ACTIVE LEARNING

Online Active Learning

เอกสารประกอบการสัมนาฯ

หลักการและเหตุผล

เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคของการปฏิรูปการเรียนการสอน ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ทำให้การเรียนการสอนเกิดขึ้นได้ทุกหนทุกแห่ง ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ ผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเองและมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนการสอนในรูปแบบ Active learning ที่ผสมผสานกับการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ หรือที่เรียกว่า การเรียนการสอนแบบไฮบริด (Hybrid) อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งผู้เรียนเป็นเด็กโต สิ่งที่ต้องเน้นและปลูกฝังให้มากที่สุดคือความรับผิดชอบต่อการเรียน และการพัฒนา รวมทั้งการสร้างนิสัยในการเข้าชั้นเรียนทั้งแบบในชั้นเรียน และแบบออนไลน์ อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ดังนั้นเมื่อผู้สอนมุ่งหวังให้ผู้เรียนมีสภาพการเรียนรู้แบบ Active ตัวผู้สอนเองก็จำเป็นต้อง Active ไปด้วยเช่นกัน จึงจะเกิด Active Learning และจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมี Active Teaching ด้วยเช่นกัน เมื่อผู้เรียนและผู้สอนมีความพร้อมมีการเตรียมตัว ทั้งสองฝ่ายก็จะเกิดสภาพการเรียนการสอนที่ Active learning ขึ้นมาได้ ประกอบเข้ากับความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี ทำให้เกิดการเรียนการสอนแบบ Hybrid Active Learning การกำหนดการเรียนรู้แบบ Active learning เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความคิดที่แตกต่างของผู้เรียน ซึ่งจะเห็นว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอนใช้มากที่สุดคือการพูดและนักเรียนเป็นผู้ฟัง แต่การเรียนการสอนในลักษณะนี้จะไม่สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนให้นำความรู้ที่ได้จากการเรียนในห้องเรียนทั้งแบบออนไลน์ และออฟไลน์ไปปฏิบัติได้ดี ดังนั้นผู้สอนต้องสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทำหน้าที่เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจและเกิดเป็นแสงไฟแห่งการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ต้องให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้แบบ Active learning ทั้งนี้ผู้สอนจำเป็นต้องหากลยุทธ์ เทคนิค เครื่องมือ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ ที่สามารถดึงดูดใจให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างน่าสนใจ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนแบบ Hybrid Active Learning การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างผู้สอนทั้งที่มีความเชี่ยวชาญ และผู้สอนรายใหม่ จึงเป็นสิ่งจำเป็น อันก่อให้เกิดแนวคิดการพัฒนารูปแบบ การประยุกต์ใช้ กลยุทธ์ เทคนิค และเทคโนโลยีใหม่ๆ ระหว่างผู้สอนด้วยกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น อีกทั้งยังเป็นการรักษา ต่อยอด บูรณการองค์ความรู้ ประสบการณ์อันทรงคุณค่าเหล่านั้น ไว้กับองค์กร

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1) เพื่อสนับสนุนและพัฒนาอาจารย์ผู้สอนให้มีความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน ในรูปแบบ Active Learning บูรณการกับ Hybrid Learning

2) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรม สามารถบูรณการ Active Learning บูรณการกับ Hybrid Learning เข้ากับการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมในศตวรรษที่ 21

3) เพื่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา

บันทึกการเสวนา

การจัดการความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ผสมผสานกับ e-Learning ปีการศึกษา 2562


คณะกรรมการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ได้จัดโครงการเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เพื่อพัฒนาคณาจารย์ ให้เกิดการปฏิรูปการเรียนการสอนในรูปแบบ Active learning ที่ผสมผสานกับการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์

ประจำปีการศึกษา 2562 ภายใต้โครงการ"การจัดการความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ผสมผสานกับ e-Learning ปีการศึกษา 2562" ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เวลา 9.30-12.00 น.

ดำเนินการเสวนา โดย ผศ.ดร. ณัฏฐ์ โอธนาทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมฯ และหัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

ผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แบ่งปันประสบการณ และข้อเสนอแนะดังนี้

น.อ.ผศ.ไชโย ธรรมรัตน์ ร.น สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

ได้นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Online Active Learning

ที่ได้นำไปใช้กับวิชาที่สอนในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า พร้อมอุปสรรคที่พบดังนี้

มีอุปสรรคในช่วงแรก มีการมอบหมายงาน ระหว่างเรียน ตรวจสอบการเข้าชั้นเรียน

โดยให้ตอบกลับภายในชั่วโมงเรียน มีการทำแบบทดสอบ

การสอบใช้วิธีออนไลน์ มีข้อสอบหลายชุด มีหลายโซลูชั่น ป้องกันการลอกกัน

อย่างไรก็ตามยังพบปัญหาทางด้านความพร้อม จำนวนนักศึกษาเข้าเรียนพร้อมกันในทีม

การส่งงานมอบหมาย พอมีจำนวนมากเกินก็จะไม่สามารถใช้งานได้

นอกจากนี้ยังพบปัญหา ในด้านของผู้เรียนมีอุปสรรคในการใช้งาน จำแอคเค้าท์ตัวเองไม่ได้

ไม่มีโทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าใช้เรียนแบบออนไลน์ได้ รวมทั้ง ไม่มีกล้อง

รายชื่อนักศึกษายังไม่สอดคล้อง รายชื่อนักศึกษาตามทะเบียน ตามเกรด แบบ Excel

มีรูปแบบไม่ตรงกัน ทำให้ยากลำบากในการกรอกคะแนน


ดร.ทิฆัมพร พันลึกเดช หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

ใช้ซูมในการเรียนการสอน การเรียนแบบแอคทีฟ เป็นธรรมชาติของบัณฑิตศึกษา อยู่แล้ว

อาจารย์ทำหน้าที่เป็น Facilitator และบัณฑิตศึกษาใช้ Active Learning อยู่ตลอดเวลา

ทั้งผู้เรียนและผู้สอนมีความชอบในรูปแบบการเรียนเช่นนี้ สามารถฝึกฝนการวิเคราะห์สังเคราะห์

รายวิชาล่าสุดที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนนี้คือ รายวิชาสัมนา มีการเชิญ Guest Speaker

ที่มีชื่อเสียง มีประสบการณ์ มาให้ความรู้ เป็นผู้ประสบความสำเร็จในช่วง โควิด 19 เป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตามมีนักศึกษาบางคน มีการต่อรองในการวิเคราะห์ เกรงทำไม่ทัน

บัณฑิตวิทยาลัยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning กว่าร้อยละ 90

โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง


นางชฎาภรณ์ วนาประเสริฐศักดิ์ สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจดิจิทัล

การเรียนการสอนแบบออนไลน์ ทำให้ได้รับความสะดวกมาก


นายสินชัย กิตติมงคลสุข สาขาวิชาดิจิทัลมีเดีย

ให้นักศึกษานำเสนองานแบบออนไลน์ เป็นการฝึกฝนนักศึกษาในการนำเสนอ

นักศึกษาต้องมีความกระตือรือร้นในการ ค้นหาข้อมูล เตรียมการต่างๆ

อาจารย์ต้องมอบหมายงานล่วงหน้า และอธิบายเป้าหมายให้ชัดเจน

อย่างไร ก็ตามทำให้อาจารย์มีภาระงานมากขึ้น


ผศ.จิระศักดิ์ สินสุขอุดมชัย สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

วิชาที่สอนส่วนใหญ่เป็นวิชาปฏิบัติ ซึ่งมีอุปสรรคอยู่บ้างในการเรียนการสอนแบบออนไลน์

แต่ด้วยธรรมชาติของวิชาปฏิบัติ เป็นการเรียนแบบ Active Learning อยู่แล้ว

อาจารย์ต้องทำการปรับรูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาปฏิบัติ ให้สามารถดำเนินการ

แบบออนไลน์ได้ โดยยังคงรูปแบบ Active Learning ไว้


อาจารย์ทแกล้ว เยี่ยมสวัสดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล

สอนวิชาทฤษฎีเชิงคำนวณ มีการเรียนการสอนในรายวิชาที่เป็นคำนวณ

สอนจากหลักไปสู่การแก้ไขปัญหา ซึ่งนับว่าเป็น Active Learning แบบหนึ่ง

อย่างไรก็ตามในช่วงแรก ยังมีอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ก็สามารถดำเนินการไปได้


ผศ.จิรัฐิติ์ บรรจงศิริ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

การเรียนการสอนยังมีอุปสรรคอยู่ เนื่องจากรายวิชาของวิศวกรรมโยธา

ถูกบังคับด้วย สภาวิชาชีพ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้

นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคทางด้านเครือข่ายการใช้งานอินเตอร์เน็ต ที่อาจล่มในบางเวลา

อ.กำธร สาขาวิชาวิศกรรมเครื่องกล

อยากทราบเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการในรายวิชาที่เกี่ยวกับการฝึกฝีมือต่างๆ

ซึ่งเป็นหัวใจของวิชาทางวิศวกรรมศาสตร์


ผศ.วราธร แก้วแสง สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

สอนทั้งรายวิชทฤษฎี และรายวิชาปฏิบัติ

ส่วนใหญ่พบข้อดี ข้อเสียคล้ายกับคณาจารย์ท่านอื่น

แต่ในส่วนการสอนปฏิบัติ จะปรับเปลี่ยนเป็นการบรรยายเชิงปฏิบัติ

ส่งข้อมูลให้ นักศึกษาแล้วทำรายงานส่งกลับมา

ส่วนทางด้านวัสดุศาสตร์ อาจประเมินได้ยาก


อ.อมรพงษ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ

ระหว่างการสอบ สอน นักศึกษาจะมีการสอบถามตลอดเวลา

ต้องใช้โปรแกรม และอุปกรณ์ ต่างๆ เพิ่มเพื่อให้สามารถแสดงผลการสอน

ปัญหาคือ ในระหว่างการเรียน ไม่สามารถทราบได้ว่า นักศึกษายังตั้งใจกับการเรียนการสอนหรือไม่

แก้ไขโดยการบันทึกคลิปไว้ทุกครั้ง เพื่อให้นักศึกษา สามารถเรียนย้อนหลังได้

นอกจากนี้ยังพบปัญหาทางด้านอินเตอร์เน็ต

ในส่วนของการทำข้อสอบใช้เวลาเป็นเครื่องมือกำกับ

ป้องกันการลอกกันโดยทำการสลับข้อ การตอบ

วิชาคณิตศาสตร์ ใช้ให้ทำโจทย์ เขียนใส่กระดาษ และถ่ายรูปส่ง


ผศ.สมยศ เสาะหายิ่ง สาขาวิชาวิศวกรรมความปลอดภัย

พบอุปสรรคในเรื่องของอินเตอร์เน็ต

ข้อดี คือสะดวก เหมาะกับวิชาบรรยาย

ข้อเสีย คือ เทคโนโลยีไม่ค่อยพร้อม และไม่เหมาะกับวิชาปฏิบัติ หรือคำนวณ

อาจารย์สุรวิทย์ ตุนชัยภูมิ

มีการใช้สื่อที่หลากหลาย เพื่อสนองต่อความต้องการ และรูปแบบการเรียนรู้

ที่แตกต่างกันของนักศึกษาแต่ละราย


อาจารย์อานุภาพ ทองบ่อ สาขาวิชาการบัญชี

ใช้วิธีการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ทั้งแบบออนไลน์ และออฟไลน์

เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ตามที่ตนเองต้องการ และถนัด


อาจารย์ ณัฏฐิตาพร แก้วรุจี สาขาวิชาการบัญชี

มีการใช้แอพพลิเคชั่นทีม แต่ก็พบอุปสรรคในการใช้งาน เช่นการไลฟ์สด

แอพไม่สามารถใช้งานได้ และด้วยตัวแอพอาจอยู่ระหว่างการพัฒนา

จึงอาจมีการปรับเปลี่ยนเมนูต่างๆ บ่อยครั้งทำให้สับสนกับการใช้งาน


ผศ.พรชนก บุญญานันทกุล สาขาวิชาการตลาด

มีการนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบกลุ่ม Online Active Learning

และเนื่องจาก นักศึกษาที่สอนส่วนใหญ่อยู่ในชั้นปีท้ายๆ จึงไม่พบปัญหามากนัก

ในภาวะโควิด 19 โชคดีที่ได้ให้ นักศึกษาลงพื้นที่แล้ว แต่ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน

เป็นแบบรายบุคคลด้วยแบบสอบถาม และดูแลเป็นรายบุคคล

นักศึกษาก็ต้องปรับตัว ในการทำงาน การเรียนการสอน


อาจารย์ธนพร สวนอินทร์ สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์

มีการติดตามนักศึกษาระหว่างการเรียนการสอน

ประสบปัญหาทางด้านซอฟต์แวร์ ทีม ในการใช้งาน การวางไฟล์ การโหลดไฟล์


อาจารย์ชินกฤต วงศ์รักษ์ สาขาวิชาการเงิน

แสดงทัศนะว่าปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความไม่ทัดเทียมกันทางด้านเทคโนโลยี

ผู้เรียนบางคน ไม่มีเครื่องมือเหล่านี้ ปรับเปลี่ยนการใช้งานจากทีม มาเป็น ไลน์แอพ

ทำให้สามารถสื่อสารติดตามนักศึกษาได้สะดวกมากขึ้น


อาจารย์สุมนา สุขพันธ์ สาขาวิชาการจัดการ

ใช้ไลน์กลุ่มเป็นเครื่องมือสื่อสาร การเรียนการสอน ติดตาม

ส่วนเทคโนโลยีอื่นๆ ก็นำไปใช้กับ การเรียนการสอน

รูปบบการสอบ มีการกำหนดรูปแบบการวัดผลในการเรียนรการสอน

มีการออกแนกกรอบ รวมถึง มีรูปแบบการเรียนการสอนแบบ แบบ Active Learning

จัดทำกิจกรรมต่างๆ สนองตอบต่อความต้องการของชุมชน


อาจารย์บุษบง ปรีดาวงศากร สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ

ใช้วิธีการเรียนการสอนแบบถามตอบ ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการเรียนการสอนแบบ Active Learning

รูปแบบหนึ่ง สามารถทำได้อย่างดี กับการเรียนการสอนแบบออนไลน์


ผศ.ชไนพร สิงห์ตระหง่าน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

ประสบปัญหาทางด้านเครื่องมือต่างๆ การใช้งานซอฟต์แวร์ และ

ข้อมูลต่างๆ


อาจารย์สิทธิ์ สิตไทย สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม

ใช้วิธีการกระตุ้นผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

เข้าใจว่าโลกเปลี่ยน ทั้งผู้เรียนและผู้สอนต้องปรับตัว

ความยุติธรรมในการจัดสอบ ผลที่ได้อาจมีปัญหา


อาจารย์ชนินทร เฉลิมสุข สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม

มีการประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนในรายวิชาเขียนโปรแกรม

ซึ่งมีอุปสรรคอยู่บ้าง อาทิการแก้ไขโปรแกรมเมื่อนักศึกษา ไม่สามารถทำตามได้

ทำให้ผู้เรียนเกิดความท้อแท้ และไม่อยากทำต่อ เป็นต้น


สรุป

การเรียนการสอนแบบ Online Active Learning

ข้อดี

- เหมาะสำหรับการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด 19 และการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ในอนาคต

- เหมาะกับการเรียนการสอนในรายวิชาที่เป็นบรรยาย สะดวก รวดเร็ว

อุปสรรค

- ในรายวิชาปฏิบัติ ผู้สอนต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอน วิธีการต่างๆ ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของแต่ละรายวิชา ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากของแต่ละบุคคล และแต่ละรายวิชา

- บางรายวิชายังไม่สามารถทำได้ อันเนื่องมาจากข้อบังคับ และกฎระเบียบต่างๆ อาทิ จากสภาวิชาชีพ กว

- ปัญหาทางด้านซอฟต์แวร์และอินเตอร์เน็ต อาทิ ความเสถียรของอินเตอร์เน็ต ความเสถียรของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน (MS Team)

- ปัญหาทางด้านเครื่องมือ อาทิ อุปกรณ์ กล้อง ไมโครโฟน โทรศัพท์ เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่มีความพร้อม

- ปัญหาทางด้านตัวผู้เรียน ยังไม่สามารถใช้เครื่องมือต่างๆ ได้ ต้องมีการฝึกฝน

ผู้เรียนหลายคน ไม่มีสมาธิกับการเรียน เนื่องจากผู้สอนไม่สามารถกำกับดูแลได้ทั่วถึง

- ปัญหาทางด้านผู้สอน ยังมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Online Active Learn ไม่เพียงพอ

ไม่สามารถประยุกต์ใช้ ปรับรูปแบบการเรียนการสอน ให้เข้ากับรายวิชาที่รับผิดชอบได้

- ปัญหาของปัจจัยพื้นฐาน

ระบบซอฟต์แวร์ LMS ยังไม่รองรับความต้องการรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย

แบนด์วิทช์ ของอินเตอร์เน็ต ไม่เพียงพอต่อการใช้งานในรูปแบบสตรีม และเป็นต้นทุนเพิ่ม ทั้งของสถาบัน ผู้สอน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียน

ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคทางการเรียนการสอน


ด้วยการเรียนการสอน ผู้สอนต้องสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมทำหน้าที่เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจและเกิดประกายแห่งการเรียนรู้โดยผู้สอนจำเป็นต้องหากลยุทธ์ เทคนิค เครื่องมือ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ ที่สามารถดึงดูดใจให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างน่าสนใจ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเป็นการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และตอบสนองการประกันคุณภาพการจัดการศึกษา ตลอดจนนโยบายรัฐบาลที่กำหนดนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล โดยคณะกรรมการจัดการความรู้(KM) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ตามวัตถุประสงค์ต่อไป