แลกเปลี่ยนเรียนรู้

Competency-Based/ Phenomena Learning KM 2021


KM 2021

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ Competency-Based/ Phenomena Learning กับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ปีการศึกษา 2563"

โครงการตามความร่วมมือระหว่างสำนักวิชาการ ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา และคณะวิชาเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสนับสนุนการจัดการความรู้ (KM)

ระดับสถาบันรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2563

วันศุกร์ที่ 30 ก.ค. 64 เวลา 9.00 – 12.00


Phenomenon Base Learning

Competency-Based/ Phenomena Learning

เอกสารประกอบการสัมนาฯ

กำหนดการ

9.00 - 9.30 ลงทะเบียน เข้าร่วมสัมนา ออนไลน์

9.30 - 9.40 รายงาน โดย ผู้อำนวยการ ศูนย์นวัตกรรม ฯ

9.40 - 9.50 เปิดงาน โดย ผู้อำนวยการ สำนักวิชาการ มออ.

9.50 - 10.10 แนะนำตัวผู้เข้าร่วมประชุม คณาจารย์สาขาวิชาต่างๆ

10.10 - 10.25 การประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ กับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

10.25 - 11.45 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ ระหว่างผู้สอน โดยคณาจารย์สาขาวิชาต่างๆ

11.45 - 12.00 สรุปผล และปิดโครงการ

สรุปสัมมนา

เรื่อง "การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ Competency-Based/ Phenomena Learning กับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ปีการศึกษา 2563"

เป็นโครงการตามความร่วมมือระหว่างสำนักวิชาการ ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา และคณะวิชาเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและสนับสนุนการจัดการความรู้ (KM)

ระดับสถาบันรองรับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2563

วันศุกร์ที่ 30 ก.ค. 64 เวลา 9.00 – 12.00

สรุป

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประยุกต์ใช้การเรียนรู้เชิงสมรรถนะ Competency-Based/ Phenomena Learning กับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ปีการศึกษา 2563 ในระดับอุดมศึกษาแล้ว สาขาวิชาส่วนใหญ่มีการเรียนรู้ในรูปแบบ Competency-Based/ Phenomena Learning กับการเรียนการสอนอยู่แล้ว โดยเฉพาะในสาขาวิชาที่ต้องมีการจัดทำโครงงาน เพื่อจบการศึกษา เนื่องจากกระบวนการทำโครงงาน และการวิจัย (ในระดับบัณฑิตศึกษา) ในขั้นตอนเริ่มต้นต้องมีการกำหนดปัญหาเพื่อใช้เป็นหัวข้อในการทำโครงงาน แต่อาจต้องเพิ่มกระบวนการกระตุ้นให้เกิดความอยากที่จะเรียนรู้อย่างสนุกสนาน เพื่อสนับสนุนขั้นตอนการสืบค้น เรียนรู้รูปแบบวิธีการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับหัวข้อโครงงาน/วิจัยของแต่ละกลุ่ม ได้อย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้เกิดวิธีแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ นอกจากนี้ยังต้องเพิ่มรูปแบบทีมงานการให้คำปรึกษาที่หลากหลายสาขาวิชามากขึ้น เพื่อสามารถแนะนำนักศึกษาได้รอบด้าน อย่างไรก็ตามเพื่อให้นักศึกษามีความคุ้นชินกับการเรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าว อาจต้องปรับเพิ่มประยุกต์ใช้ Competency-Based/ Phenomena Learning กับกลุ่มวิชาพื้นฐานด้วย และต้องปรับให้เข้ากับธรรมชาติของรายวิชา กลุ่มวิชา สาขาวิชา ที่สอดคล้องกัน แต่ก็เป็นแนวทางที่เป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาบัณฑิตในศตวรรษที่ 21

ข้อเสนอแนะ แบ่งปันประสบการณ์ จากคณาจารย์สาขาวิชา คณะ ต่าง ๆ

อ ชนินทร เฉลิมสุข สาขาวิทยาการคอมพิเตอร์

ได้นำเสนอการประยุกต์ใช้กับรายวิชาการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น โดยตั้งหัวข้อการพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น เพื่อตอบโจทย์สถานการณ์โควิด 19 ปัญหาที่พบคือ เนื่องจากเป็นปัญหาไม่คาดคิด เป็นปัญหาใหม่ นศ.ยังไม่สามารถค้นหาข้อมูลได้รอบด้าน การวิเคราะห์ปัญหาหรือข้อมูล

อ สินชัย กิตติมงคลสุข สาขาวิชาดิจิทัลมีเดีย

ประยุกต์ใช้โดยการตั้งหัวข้อการสร้างสื่อ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด 19 ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล คณะสาธารณสุข ซึ่งมีข้อมูลจริงจำนวนมาก อยู่ในช่วงเริ่มต้น ต้องเริ่มต้นจากการปรับ มคอ 3 จะกระทบกับ มคอ 2

อ สิทธิ สิตไทย สาขาวิชาหมวดศึกษาทั่วไป คณะศิลปะศาสตร และวิทยาศาสตร์

นำเสนอการประยุกต์ใช้กับความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์ แบ่ง นศ ออกเป็นกลุ่ม สร้างสถานณ์แต่ละกลุ่มการคัดเลือกคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน มีการวิจารณ์ ข้ามกลุ่ม ให้นศ หาข้อมูลมาก่อน อาจารย์เสริมภายหลัง สร้างสถานการณ์ให้ นศ เพื่อให้เกิดความแข่งขัน สร้างแรงผลักดันที่ดี

ผศ ไชโย ธรรมรัตน์ สาขาวิชาไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์

นำเสนอในรายวิชาโครงงาน อาจยังไม่ชัดเจน ต้องระบุให้ชัดเจน ควรเริ่มต้นจากโจทย์ปัญหา ที่ชัดเจน ก็ได้ประยุกต์ใช้กับรายวิชาบ้าง ได้ผลพอควร คิดว่าเหมาะสมกับรายวิชาปฏิบัติมากกว่า ควรปรับการเรียนการสอน โดยใช้คำถาม เช่น ทำไมไฟจึงติด ทำไมมอเตอร์จึงหมุน และค้นคว้า ตื่นเต้น

อ สุมนา สุขพันธ์ สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ

ใช้สอนในรายวิชาการจัดการความรู้ แนวทางให้หัวข้อในรายวิชา จากนั้นลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล นำมาสรุป ทำคลิปวิดิโอ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่ด้วยสถานการณ์โควิด 19 จึงต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนบ้าง เช่น การถอดบทเรียน เพื่อเรียนรู้รูปแบบการแก้ไขปัญหา ที่สอดคล้องกับรายวิชา เกี่ยวโยงกับภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม ส่งเสริมให้เกิดการคิดวิเคราะห์

ผศ. จารุศักดิ์ จิระภาพันธ์ สาขาวิชาวิศกรรมความปลอดภัย คณะวิศวกรรมศาสตร์

รายวิชาคำนวณ อาจทำค่อนข้างยาก แต่วิชาที่อาจารย์สอน สามารถทำการบูรณาการจากรายวิชาอื่นๆ ได้ ผู้สอนจำเป็นต้องลงทุนเครื่องมือ ค่อนข้างเยอะ

นศ มีความสนุกที่จะเรียนรู้

ผศ. สุรัตน์ ดีรอด สาขาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์

ความเหมาะสมในระดับอุดมศึกษา พยายามบูรณาการ ศาสตร์อื่นๆ ต้องมีพื้นฐานความรู้ และต้องบูรณาการความรู้กับศาสตร์ อื่นๆ อาจทำให้เกิดความยากในบริหารจัดการ สภาวิศวกร สร้างบัณฑิตที่สามารถใช้เทคโนโลยี ความยากลำบากของวิศวฯ คือการบูรณาการ เป้าหมายต้องการสร้างบัณฑิต ไปใช้เทคโนโลยี หรือ แก้ปัญหาเทคโนโลยี ให้โจทย์ยากขึ้น ให้เวลากับ นศ มากขึ้น

อยากทราบ


อ. ชฎาภรณ์ สิตไทย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ

ประยุกต์ใช้กับรายวิชาอีคอมเมิร์ซ กับกลุ่มเรียนวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นนศ ที่ทำงานแล้ว ให้ นศ สามารถแชร์จากประสบการณ์จริง ให้ทดลองทำจริง แบบโครงงานเป็นฐานเป็นกลุ่ม นศ เรียนรู้เทคนิค กระบวนการ วิเคราะห์ แก้ปัญหา เพื่อหาวิธีในการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ ปัญหาการขนส่ง ลอจิสติกส์

อ. เนาวรัตน์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

โจทย์จากสถานประกอบการ เรื่องการสื่อสารภาษาอังกฤษ สื่อสารไม่ได้ ไม่มั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษ มีการประยุกต์ใช้แอพ ดูโอลิงโก้ เพื่อฝึกใช้จริงจากดูโอลิงโก ได้ฝึกทักษะจริงจากแอพ ให้ นศ ทำคลิปนำเสนอ เพื่อตอบโจทย์สถานประกอบการ

อ. พงษ์ลดา สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์

ประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ต้องสร้างความอยากในการเรียนรู้ให้ได้ก่อน เริ่มจากการศึกษาดูงาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้จากงานจริง นศ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล พรบ การให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ยกตัวอย่าง จากเหตุการณ์จริงต่างๆ แต่ปัจจุบัน มีปัญหาเรื่องการเรียนออนไลน์ แก้ปัญหา ด้วยการให้ นศ เรียนรู้ก่อนล่วงหน้า การเรียนโดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การแก้ไขปัญหาในช่วงสถานการณ์โควิด 19

ดร. ฑิฆัมภร บัณฑิตวิทยาลัย

ธรรมชาติของบัณฑิตศึกษา เป็น PeonBL อยู่แล้ว แต่ นศ ไทย ยังต้องให้ความสำคัญพื้นฐาน และการบูรณาการ เพื่อให้นำสู่งานวิจัยที่ตอบโจทย์

รวบรวมและสรุปผล โดย

ผศ.ดร. ณัฏฐ์ โอธนาทรัพย์

ศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ 2564

เอกสารประกอบ

shorturl.at/mnHS5

QA27.pdf